วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กรณีศึกษาบทที่ 7

กรณีศึกษาบทที่ 7
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร
คำถาม
1. การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพัก ที่ไหน เมื่อใด และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใด


ตอบ มีความจำเป็น เนื่องจากการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ และเมื่อนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ (SHMA) ทำให้สามารถวิเคราะห์งบประมาณที่มีอยู่และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การ อีกทั้งระบบยังสามารถวิเคราะห์ว่ามีเศรษฐกิจรอบๆกองทับและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ ในขณะนั้น เช่น พิจารณาว่ามีบ้านพักในกองทัพเช่าได้เพียงใด อีกทั้งในกองทัพมีทหารที่มียศถึง 20 ขั้น นายทหารแต่ละยศต่างๆ มีความต้องการที่แตกต่างกัน ยิ่งยศสูงเท่าใดจำเป็นตะจ้องมีบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น และในขณะเดียวกัน อาคารบ้านพักมีอยู่หาขนาด คือ จากขนาดห้องห้องเดียวไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอน ขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา และการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 หน่วยต้องใช้เวลานาน การนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (SHMA) จึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความถูกต้องและยังช่วยลดระยะเวลาในการทำงานในส่วนนี้ของกองทัพได้

2. องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้าง

ตอบ 1.ฐานข้อมูล (Database)
-Off-post Data: ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพ
-On-post Data: ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหาร
2. ฐานแบบจำลอง (Model Base)
-Regional Economic Model (RECOM) for the Area: เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆ
-Modified Segment Housing Market Analysis (MSHMA): เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา : ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

บทที่ 3
กรณีศึกษา : ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
(รายละเอียดศึกษาได้จากวารสาร Eworld ฉบับเดือนมิถุนายน 2547)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดหนึ่งในเอเชีย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันมีแพทย์มากกว่า 600 ท่าน ให้บริการผู้ป่วย 850,000 คนต่อปี ระบบในปัจจุบันของโรงพยาบาลได้รับการออกแบบโดยเน้นที่ข้อมูลคนไข้ (Patient Focus) ข้อมูลจะเก็บอยู่ในฐานข้อมูลกลาง ไม่ว่าจะเป็นคนไข้เดินไปจุดใด ระบบสามารถดึงข้อมูลมาได้ทันทีเริ่มตั้งแต่เมื่อคนไข้มาถึงโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลสามารถค้นหาประวัติคนไข้จากฐานข้อมูลกลางได้ทันทีจากทั้งบาร์โค้ด (Hospital : HN) หรือชื่อของคนไข้ก็ได้ ถ้าเป็นคนไข้ที่นัดแพทย์ไว้ข้อมูลจะถูกส่งไปรอในคิวของแพทย์คนดังกล่าว ถ้าไม่ได้นัดไว้ ข้อมูลจะถูกส่งไปรอยังคิวของแพทย์ที่มีคิวสั้นที่สุด
ที่ห้องตรวจของแพทย์จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกห้อง ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบได้ว่ามีคนไข้รอคิวอยู่กี่คน คนที่กำลังจะเข้าตรวจคือใคร มีประวัติการเจ็บป่วยอย่างไร เมื่อคนไข้มาถึงก็สามารถรับการตรวจได้ทันที นอกจากนี้หากต้องส่งตรวจเลือด/ปัสสาวะ หรือเอ็กซเรย์ ระหว่างที่คนไข้เดินกลับมาผลแล็บหรือผลเอ็กซเรย์ดังกล่าวจะถูกส่งออนไลน์มายังแพทย์ที่ตรวจ ทำให้คนไข้ไม่ต้องรอนาน
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในเรื่องของความถูกต้องแม่นยำ โดยแพทย์จะมีข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในการวินิจฉัยโรคที่ดีขึ้น โดยระบบสามารถดึงผลแล็บมาเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมในรูปแบบของกราฟได้ ผลเอ็กซเรย์ก็จะเป็นดิจิทัล ไม้ต้องไปพิมพ์เป็นฟิล์ม หมดปัญหาเรื่องฟิล์มไม่ชัดเจนหรือเสีย ทำให้ไม่ต้องเรียกคขไข้มาตรวจใหม่และประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย แพทย์ยังสามารถเลือกชื่อยาที่จะสั่งให้คนไข้จากระบบ
การบริการในส่วนอื่นๆ เช่น การชำระค่ารักษาพยาบาล ห้องจ่ายยา ข้อมูลจะถูกส่งผ่านระบบไปก่อนที่คนไข้จะเดินทางไปถึง และจะมีจอแสดงสถานะของคนไข้ที่รอคิวอยู่

คำถาม
1. ฐานข้อมูลกลางของคนไข้ที่โรงพยาบาลจัดเก็บสามารถนำมาวิเคราะห์โดยใช้ดาต้าไมนิ่งได้อย่างไรบ้าง
ตอบ แพทย์จะมีข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในการวินิจฉัยโรคที่ดีขึ้น โดยระบบสามารถดึงผลแล็บ มาเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมในรูปแบบของกราฟได้ ผลเอ็กซเรย์ก็จะเป็นดิจิทัล ไม้ต้องไปพิมพ์เป็นฟิล์ม หมดปัญหาเรื่องฟิล์มไม่ชัดเจนหรือเสีย ทำให้ไม่ต้องเรียกคขไข้มาตรวจใหม่และประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย แพทย์ยังสามารถเลือกชื่อยาที่จะสั่งให้คนไข้จากระบบได้

2. หากโรงพยาบาลต้องการพัฒนาระบบให้เป็น Web Services ท่านคิดว่าระบบควรมี
ความสามารถในการบริการด้านใดบ้าง
ตอบ สามารถให้บริการด้านการตรวจสอบที่อยู่ของคนไข้ว่าคนไข้พักอยู่ห้องใด สามารถตรวจสอบคิวการนัดพบแพทย์ว่ามีคนไข้รอคิวอยู่กี่คน และมีการประชาสัมพันธ์ของทางโรงพยาบาลผ่านทางเครือข่ายของโรงพยาบาล